จากรายงานของทาง reuters ฮอนด้าประกาศเรียกคืนรถยนต์กว่า 750,000 คันในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสำนักงานความปลอดภัยด้านการจราจรบนทางหลวงแห่งชาติสหรัฐ (NHTSA) พบปัญหาที่อาจส่งผลต่อการทำงานของถุงลมนิรภัย โดยระบุว่า ตัวเซ็นเซอร์น้ำหนักที่เบาะนั่งฝั่งผู้โดยสารด้านหน้าอาจร้าวและเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจส่งผลให้ถุงลมนิรภัยไม่ทำงานตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยบรรดาตัวแทนจำหน่ายจะทำการเปลี่ยนตัวเซ็นเซอร์ดังกล่าวใหม่ สำหรับรุ่นรถที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่
Honda Accord (ปี 2020-2022) Honda Civic (ซีดาน, คูเป้, และแฮทช์แบ็ค) (ปี 2020-2022)
Honda CR-V (ปี 2020-2022)
Honda Pilot (ปี 2020-2022)
Honda Odyssey (ปี 2020-2022) ดังนั้นเจ้าของรถ ที่ได้รับผลกระทบจะได้รับแจ้งจากทางฮอนด้าเพื่อนำรถเข้าไปแก้ไขฟรีที่ตัวแทนจำหน่าย การแก้ไขนี้ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง ฮอนด้าแนะนำให้รีบนำรถเข้าแก้ไขเพื่อความปลอดภัย ฮอนด้าชี้แจงถึงปัญหา ถุงลมนิรภัยอาจทำงานผิดปกติ
ฮอนด้าชี้แจงสถานการณ์เพิ่มเติมผ่านเอกสารที่ยื่นต่อหน่วยงานกำกับความปลอดภัย โดยระบุว่าตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2020 มีการเคลมประกันกรณีถุงลมนิรภัยทำงานผิดปกติจำนวน 3,834 ครั้ง แต่ยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่อย่างใด นอกจากนี้ ฮอนด้ายังอธิบายถึงสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดปัญหา ด้วยการชี้แจงไปยัง NHTSA ว่า ภัยธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อโรงงานผู้รับช่วงการผลิต ส่งผลให้ซัพพลายเออร์จำเป็นต้องเปลี่ยนวัสดุหลักในแผงวงจรพิมพ์ของเซ็นเซอร์น้ำหนักเบาะนั่งชั่วคราว วัสดุทางเลือกที่ใช้แทนนั้น "อาจส่งผลให้แผงวงจรพิมพ์รับแรงกดทับมากเกินไป" ซึ่งกลายเป็นต้นเหตุของการทำงานผิดปกติของถุงลมนิรภัยในท้ายที่สุด อย่างไรก็ตาม การชี้แจงนี้เป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น หากต้องการข้อมูลอัปเดตหรือรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียกคืนรถยนต์ครั้งนี้ ฮอนด้าแนะนำให้ลูกค้าติดต่อตัวแทนจำหน่ายฮอนด้าโดยตรง 2 ค่ายรถญี่ปุ่นโตโยต้าและฮอนด้าเรียกคืนรถยนต์จำนวนมาก
เดือนธันวาคม 2566 โตโยต้าเรียกคืนรถยนต์ 1.12 ล้านคันทั่วโลก ครอบคลุมรถยนต์รุ่นปี 2020-2022 หลายรุ่น เช่น อวาลอน คัมรี่ โคโรลล่า ราฟ 4 เล็กซัสรุ่น ES250, ES300H, ES350 และ RX350 ไฮแลนเดอร์ และเซียนนา ไฮบริด สาเหตุคือไฟฟ้าลัดวงจรในตัวเซ็นเซอร์ Occupant Classification System (OCS) ซึ่งอาจทำให้ถุงลมนิรภัยไม่ทำงานเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
เดือนธันวาคม 2566 เช่นกัน ฮอนด้าเรียกคืนรถยนต์ 4.5 ล้านคันทั่วโลก ครอบคลุมรถยนต์รุ่นปี 2018-2020 หลายรุ่น เช่น ซีวิค ซีอาร์วี แอคคอร์ด โอดิสซีย์ และไพลอท สาเหตุคือความเสี่ยงของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงที่อาจเกิดความล้มเหลว ส่งผลทำให้เครื่องยนต์หยุดทำงาน สุดท้ายนี้ฮอนด้าได้แจ้งให้เจ้าของรถที่ได้รับผลกระทบเข้ารับการแก้ไขฟรีที่ตัวแทนจำหน่าย การแก้ไขนี้ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง ฮอนด้าแนะนำให้รีบนำรถเข้าแก้ไขเพื่อความปลอดภัย
ข้อมูลreuters